จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุก ชนิด รวมทั้งสารระเหย เช่น ทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน แล็กเกอร์ กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการอ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยน แปลงง่ายมีปฏิกิริยาตอบสนองในภาวะฉุกเฉินช้า เวลาขับรถจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า กระท่อม โคเคน มักพบว่า ผู้เสพติดจะมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวาย จิตใจ สับสน หวาดระแวง บางครั้ง มีอาการก้าวร้าว คลุ้มคลั่ง นสิ่งที่คนปกติไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น
3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่แอลเอสดีเห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง เห็นแสงสี วิจิตรพิสดาร หรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ฝันเฟื่อง เห็นแสงสี วิจิตรพิสดารหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลานควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้น กด และหลอนประสาทร่วมกัน ได้แก่ กัญชา ผู้เสพติดมักมีอาการ หวาดระ แวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอุปนิสัยใจคอผิดเพี้ยน และสุดท้ายจะกลายเป็นโรคจิต
สาเหตุของการติดยาเสพติด การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
- ความอยากรู้ ยากลอง ด้วยความคึกคะนอง
- เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
-มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิดอาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือ ช่วยให้ทำงานได้มาก ๆ
- ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยาบางชนิด อาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่าง พร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยขาดการแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร
-สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติดหรือมีผู้ติดยาเสพติด
- ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
-เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้
การสังเกตผู้ติดยาเสพติด
-ยาเสพติด หากเสพจนติด เลิกไม่ได้ จะส่งผลให้ร่างกาย จิตใจและความประพฤติของผู้เสเปลี่ยนไปจากเดิม ที่อาจสังเกตพบ ได้คือ
-ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
-อารมณ์ฉุนเฉียว จึงมักพบผู้เสพชอบทะเลาะวิวาท และทำร้ายผู้อื่น หรือในทางกลับกัน บางคนอาจเงียบขรึมผิดปกติชอบแยกตัวอยู่คนเดียว หนีออกจากพรรคพวก เพื่อนฝูง
-ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน จะมีผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคนทำงานประสิทธิภาพในการทำงานจะลดลง หรือไม่ยอมทำงานเลยใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มฉีดยาบริเวณท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
-ติดต่อกับเพื่อนแปลก ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
-ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
-ขโมย ฉกชิงวิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
-ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนมีอาการ รุนแรง ถึงขั้นลงแดงมีอาการอยากยาบางคนมีอาการ รุนแรง ถึงขั้นลงแดง
ยาเสพติดป้องกันได้
1. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
-ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
-ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
-ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
-ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
-เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์ มีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษา ผู้ใหญ่
2. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
-สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
-รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
-ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
-ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
3. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
-ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
-เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
-สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
-ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688
ยาเสพติดมีโทษต่อร่างกาย
สิ่งเสพติด หมายถึง สารหรือยา ที่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือสิ่งที่ได้จากการสังเคราะห์ รวมทั้งการผลิตด้วยวิธีต่าง ๆ เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายติดต่อกัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็จะติด และเลิกได้ยาก ก่อให้เกิดพิษเรื้อรัง ทำลายระบบอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายและจิตใจเสื่อมโทรมไร้สมรรถภาพ เกิดความทุกข์ทรมาน นับเป็นปัญหาด้านสุขภาพ และเกิดปัญหาด้านสังคม ตามมา
สิ่งเสพติด สามารถแบ่งตามลักษณะการออกฤธิ์ ได้ดังนี้
1. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท
2. กดประสาท
3. หลอนประสาท ทำลายประสาท
4. รวมทั้งออกฤทธิ์ผสมผสานทำลายอวัยวะส่วน ต่าง ๆ ของร่างกาย
ชนิดของยาเสพติด ทำอันตรายต่ออวัยวะ
สมอง
ออกฤทธิ์ทำลายประสาทและสมอง ทำให้สมองฝ่อลีบ ประสาทหลอน มึนงงมึนชา ง่วงเหงาหาวนอน ความคิดฟุ้งซ่าน ความจำเสื่อม ปัญญาอ่อน
ตา
ออกฤทธิ์ทำลายประสาทตา ทำให้ม่านตาขยายและหรี่ ประสาทเสื่อม ถึงขั้นตาบอดสี เห็นสีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง
หัวใจ
ออกฤทธิ์ทำลายระบบหัวใจและ หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบ หัวใจเต้นเร็ว ระบบการหายใจล้มเหลว
ปอด
ออกฤทธิ์ทำลายระบบ ทางเดินหายใจ ทำให้หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ มีเลือดออกที่เยื่อบุจมูก และเป็นมะเร็งปอด
ตับ
ออกฤทธิ์ทำลายตับ ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ ตับเสื่อมสมรรถภาพ เป็นโรคตับแข็ง ตับโต
ไต
ออกฤทธิ์ทำลายระบบทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบเป็นนิ่วในไตปัสสาวะลำบาก
ไขกระดูก
ออกฤทธิ์ทำลายไขกระดูก ปวดเมื่อยตามร่างกาย ทำให้โลหิตจาง และเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด เส้นโลหิต ออกฤทธิ์ทำลายระบบ ไหลเวียนของโลหิต ทำให้หลอดเลือดตีบ ความดันโลหิตสูง โลหิตจาง และเป็นมะเร็งในเม็ดเลือด
เส้นประสาทมือและเท้า
ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดอาการที่บริเวณปลายมือและเท้ามือเท้าสั่น ไม่มีแรง
กล้ามเนื้อ
ออกฤทธิ์ทำลายระบบกล้ามเนื้อ เป็นออัมพาต หรือพิการถาวร กล้ามเนื้อฝ่อ ไม่มีแรง ร่างกายทรุดโทรม
ทางเดินอาหาร
ออกฤทธิ์ทำลายระบบ ทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก ปวดท้องอย่างรุนแรง เกิดแผลในกระเพาะ ทำให้มีเลือดออกในกระเพาะ
ลงนามทำ MOU สถานศึกษาแห่งความดี
รับรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๗
ห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนสีขาว
ห้องเรียนสีขาว
สถานศึกษาสีขาว
สถานศึกษาสีขาว
สถานศึกษาสีขาว
สถานศึกษาสีขาว
กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ ปี ๒๕๕๖
ขอเป็นข้าราชการที่ดี
กิจกรรมวันพ่อครอบครัว ผอ.สถิตย์ รอบจังหวัด
กิจกรรมกฐินพระราชทาน ของสพฐ. วัดช่องลม จังหวัดราชบุรี
๒๓ ตุลาคม วันปิยมหาราช
มีวันนี้ เพราะพี่ช่วย
เครือข่ายโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ ๗
อบรมเขียนแผนปฏิบัติการ ของสำนักงานศึกษาธิการภาค ๖
อบรม"ครูไทย สุขภาพดีมีแบ่งปัน" สกสค.๔ ภูมภาค
การพัฒนาป้องกันนก อาคาร ๔ (๑๑ ตค.๒๕๕๖)
ปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าอาคาร ๔ ตลอดแนวอาคารอเนกประสงค์ ช่วงปิดภาคเรียน ๑/๒๕๕๖
กัสจัง ลูกศิษย์ มอบชุดกีฬาให้กับโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
ศึกษาดูงานเวียดนาม
ศึกษาดูงานเกาะฮ่องกง- มาเก๊า ประเทศจีน
กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ(๙ สิงหาคม ๒๕๕๖)
กิจกรรมอาเซียนศึกษา (๘ สิงหาคม ๒๕๕๖)
กิจกรรมแห่เทียนจำนำพรรษา ประจำปี ๒๕๕๖ (๑๘ ก.ค.๒๕๕๖)
ครอบครัวรอบจังหวัด
พระอาทิตย์ทรงกลด
ความสุขของครอบครัว"รอบจังหวัด"
ครอบครัวภูมิใจ"นายวสิษฐ์พล รอบจังหวัด"
ผู้อำนวยการสถิตย์ รอบจังหวัด
อบรมการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา(๑๖-๑๗ ก.ค.๒๕๕๖)
การพัฒนาสมาธิ และดูแลสุขภาพ
การพัฒนาสู่โรงเรียนสีขาว
กีฬาเทศบาลตำบลจอมบึง
การพัฒนาที่ดินวางเปล่าบริเวณโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
หนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
มอบทุนการศึกษาวันเด็ก"จากผู้ใหญ่ใจดี"
การพัฒนาศูนย์การเรียนปฐมวัย
การพัฒนาสนามเด็กเล่นของนักเรียนปฐมวัย
การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
การพัฒนาห้องสุขาของโรงเรีน
พัฒนาบุคลากรและศึกษาดูงานสถานศึกษาพอเพียงและโรงเรียนสัขาว
สร้างพระพุทธรูปประจำสถานศึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
CERTIFICATE
"หนึ่งแสนครูดี" ประจำปี ๒๕๕๕" ผู้บริหารสถานศึกษา
ศึกษาดูงานสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
การพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรม
หลักฐานแสดงความเป็นวิชาชีพชั้นสูง
รำอวยพรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วันเด็ก ปี ๒๕๕๖
บริบทสภาพแวดล้อมโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน
ทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๖
โรงเรีียนบ้านทุ่งกระถิน"โรงเรียนในฝันของ ผอ.สถิตย์ รอบจังหวัด"
บรรยากาศของโรงเรียนบ้านทุ่งกระถิน เดือนมิถุนายน 2555
เผยแพร่วัฒนธรรมไทย ในประเทศเวียดนาม( ๑-๖ ตุลาคม ๒๕๕๕)
ศึกษาดูงานการจัดการเรียนการสอนวิทยาลัยการท่องเที่ยวใน ประเทศเวียดนาม
ศึกษาดูงานกรศึกษาปฐมวัย กับนักเรียนครูปฐมวัย
รางวัลเกียรติยศในการพัฒนาตนเองและสถานศึกษา
นักเรียนคุณธรรม จริยธรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕ ธนาคารออมสิบ
ศึกษาดูงาน สปป.ลาว (๔ -๙ ก.ย.๒๕๕๕)
หลวงพระบาง สปป.ลาว คณะ ผอ.โรงเรียน สพป.รบ ๒
มหานครเซี่ยงไห่ จีน กับครอบครัว
ท่องเที่ยวนครเซี่ยงไห่ จีน - เกาหลีใต้ กับครอบครัว
ท่องเที่ยวเวียดนามกับครอบครัว
ท่องเที่ยวเวียดนาม
ศึกษาดูงาน ฮ่องกง - มาเก๊า
พักที่กุยหลิน เมืองลาว เมืองวังเวียง
ท่องเที่ยวในหลวงพระบาง สปป.ลาว
ออกกำลังกายบนสวนป่าหิมวันต์ อ.ภูเรีอ จ.เลย
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๔ ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
โครงการฟี้นฟูศีลธรรมโลก
Preparation of school for World Class Standard
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
บทที่ 2 สิทธิของผู้บริโภค
ความหมายและสิทธิของผู้บริโภค
1. ความหมายของผู้บริโภค
ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
2. สิทธิของผู้บริโภค
รัฐบาลได้ออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองผู้บริโภค มีสาระสำคัญที่ควรทราบดังนี้
2.1 สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2.2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
2.3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
2.4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
2.5 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
3. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมการผู้บริโภค ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน
3.2 ติดตามสอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจและทดลองหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการตามที่เห็นสมควร
3.3 สนับสนุนหรือศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือบริการ
3.5 เผยแพร่วิชาการและให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
3.6 ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมหรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการในการติดตามตรวจสอบ จับกุมและดำเนินคดี
3.7 ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภคควรคำนึงถึงหลักในการเลือกดังนี้
1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีมีมาตรฐานตามที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด เช่น
1.1 ยารักษาโรค ต้องได้รับการรับรองและอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
1.2 อาหารและสิ่งของเครื่องใช้ ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากบอกส่วนประกอบ วัน เดือน ปี ที่ผลิต เลขทะเบียน สถานที่ผลิต วันหมดอายุ
3. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่า มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากที่สุด
4. ควรเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตามความจำเป็นและประโยชน์ในการใช้สอย
5. ผลิตภัณฑ์บางชนิดสามารถพิสูจน์ได้ก่อนเลือกซื้อมาใช้ เช่น เครื่องสำอางบางชนิด
ถ้าทาผิวหน้าแล้วปรากฏว่าแพ้ มีอาการคัน ก็ไม่ควรเลือกซื้อมาใช้
1. ความหมายของผู้บริโภค
ผู้บริโภค หมายถึง ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการและหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
2. สิทธิของผู้บริโภค
รัฐบาลได้ออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อปี พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองผู้บริโภค มีสาระสำคัญที่ควรทราบดังนี้
2.1 สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
2.2 สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
2.3 สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
2.4 สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
2.5 สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
3. คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมการผู้บริโภค ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน
3.2 ติดตามสอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจและทดลองหรือพิสูจน์สินค้าหรือบริการตามที่เห็นสมควร
3.3 สนับสนุนหรือศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาแก่ผู้บริโภคในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยและอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือบริการ
3.5 เผยแพร่วิชาการและให้ความรู้แก่ผู้บริโภค
3.6 ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมหรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการในการติดตามตรวจสอบ จับกุมและดำเนินคดี
3.7 ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
ในการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภคควรคำนึงถึงหลักในการเลือกดังนี้
1. เลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีมีมาตรฐานตามที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกำหนด เช่น
1.1 ยารักษาโรค ต้องได้รับการรับรองและอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
1.2 อาหารและสิ่งของเครื่องใช้ ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
2. เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากบอกส่วนประกอบ วัน เดือน ปี ที่ผลิต เลขทะเบียน สถานที่ผลิต วันหมดอายุ
3. เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ มีคุณค่า มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากที่สุด
4. ควรเลือกซื้อ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ตามความจำเป็นและประโยชน์ในการใช้สอย
5. ผลิตภัณฑ์บางชนิดสามารถพิสูจน์ได้ก่อนเลือกซื้อมาใช้ เช่น เครื่องสำอางบางชนิด
ถ้าทาผิวหน้าแล้วปรากฏว่าแพ้ มีอาการคัน ก็ไม่ควรเลือกซื้อมาใช้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)